อาหาร

น่าห่วงพฤติกรรมการกินคนไทยขาดสมดุล-ก่อโรครุม

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในกิจกรรม ThaiHealth Watch 2022 The Series หัวข้อ “เรื่องกินเรื่องใหญ่ กินอย่างไร ไม่ขาด ไม่เกิน”

ว่าจากข้อมูลรายงาน 1 ใน 10 ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในกิจกรรม ThaiHealth Watch 2022 The Series หัวข้อ “เรื่องกินเรื่องใหญ่ กินอย่างไร ไม่ขาด ไม่เกิน” ว่าจากข้อมูลรายงาน 1 ใน 10 เทรนด์สุขภาพคนไทย ปี 2565 โดย Thaihealth Watch 2022 สสส.พบว่า มีการบริโภคที่ขาดสมดุล ล้นเกิน หรือขาดแคลน จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป จากข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชากรปี 2564

โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจ 84,000 ครัวเรือนทั่วประเทศพบพฤติกรรมของคนไทยที่นิยมรับประทานเป็นประจำ หรือความถี่ 3-7 วันต่อสัปดาห์ ได้แก่ อาหารไขมันสูง 42% อาหารแปรรูป 39% และเครื่องดื่มเติมน้ำตาลบรรจุขวดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 34% กลายเป็นรายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย 7,450 บาทต่อสัปดาห์ สะท้อนว่าคนไทยกำลังขาดความมั่นคงทางอาหาร และเสี่ยงต่อการป่วยโรค NCDs ในระยะยาวที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ระวัง

“ช่วงเปิดเทอมนี้เด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี ยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำ ซึ่งท่ามกลางการบริโภคแบบขาดๆเกินๆนี้ สสส.ได้เร่งต่อยอดการดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์ให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมถูกต้อง ผ่าน https://resourcecenter.thai health.or.th/” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว.โดย Thaihealth Watch 2022 สสส.พบว่า มีการบริโภคที่ขาดสมดุล ล้นเกิน หรือขาดแคลน จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป

จากข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชากรปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจ 84,000 ครัวเรือนทั่วประเทศพบพฤติกรรมของคนไทยที่นิยมรับประทานเป็นประจำ หรือความถี่ 3-7 วันต่อสัปดาห์ ได้แก่ อาหารไขมันสูง 42% อาหารแปรรูป 39% และเครื่องดื่มเติมน้ำตาลบรรจุขวดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 34% กลายเป็นรายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย 7,450 บาทต่อสัปดาห์ สะท้อนว่าคนไทยกำลังขาดความมั่นคงทางอาหาร และเสี่ยงต่อการป่วยโรค NCDs ในระยะยาวที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ระวัง

“ช่วงเปิดเทอมนี้เด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี ยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำ ซึ่งท่ามกลางการบริโภคแบบขาดๆเกินๆนี้ สสส.ได้เร่งต่อยอดการดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์ให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมถูกต้อง ผ่าน https://resourcecenter.thai health.or.th/” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว